วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความหมายระบบดูแลช่วยเหลือ

การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ความหมาย
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอนพร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยมีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการดังกล่าว และมีการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้เกี่ยวข้อง หรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการสนับสนุนส่งเสริมจากโรงเรียน
การดูแลช่วยเหลือ รวมหมายถึง การส่งเสริม การป้องกัน และการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาโดยวิธีการและเครื่องมือสำหรับครูที่ปรึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี
คนเก่ง ปลอดภัยจากสารเสพติด และมีความสุขในการดำรงชีวิตในสังคม
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
1. ผู้บริหารโรงเรียน รวมทั้งผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของระบบการ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียน และให้การสนับสนุนการดำเนินงาน หรือร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ
2. ครูทุกคนและผู้เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องมีความตระหนักในความสำคัญของระบบการดูแล
ช่วยเหลือนักเรียน มีทัศนคติต่อนักเรียนและมีความสุขที่จะพัฒนานักเรียนในทุกด้าน
3. คณะกรรมการหรือคณะทำงานทุกคณะ ต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด และมีการประชุม
ในแต่ละคณะอย่างสม่ำเสมอตามกำหนด
4. ครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักสำคัญในการดำเนินงาน โดยต้องได้รับความร่วมมือจากครูทุกคน
ในโรงเรียน รวมทั้งการสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ จากโรงเรียน
5. การอบรมให้ความรู้และทักษะ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลความรู้แก่ครูที่ปรึกษาหรือผู้เกี่ยวข้องในเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะเรื่องทักษะการปรึกษาเบื้องต้น และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียน ซึ่งโรงเรียนควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

กระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
กระบวนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ
1.การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
2.การคัดกรองนักเรียน
3.การส่งเสริมนักเรียน
4.การป้องกันและแก้ไขปัญหา
5.การส่งต่อ
บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา
การศึกษาการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน และอุปสรรค ปัญหา การดำเนินงาน
ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 1 ปีการศึกษา 2551 มีรายละเอียดของการดำเนินงาน ดังนี้
1. รูปแบบการประเมิน
2. ประชาชากรที่ใช้ในการศึกษา
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
4. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
7. การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. รูปแบบการประเมิน
การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินเชิงสำรวจ รูปแบบที่ใช้ในการประเมินโครงการ ผู้ศึกษาได้ประยุกต์รูปแบบ “ CIPP ” ของสตีฟเฟิลบีมและคณะ ใช้ในการประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และ
ด้านผลผลิต

2. ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ประชากรที่ใช้ในศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนะแนว ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก
เขต 1 ทุกโรงเรียน จำนวน 121โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 363 คน ดังนี้
- ผู้อำนวยการโรงเรียน 121 คน
- ครูที่รับผิดชอบโครงการ ฯ 121 คน
- ครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนะแนว 121 คน







40
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้กับผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนวแนว ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ซึ่งเป็นข้อคำถามที่เป็นแบบเดียวกัน โดยแบ่งข้อคำถามในแบบสอบถามออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ
( check List )
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านปัจจัยการดำเนินงาน
2. ด้านกระบวนการ
3. ด้านผลผลิต
ลักษณะของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
โดยมีเกณฑ์และให้คะแนน ดังนี้
5 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด
4 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก
3 หมายถึง มีความเหมาะสมปานกลาง
2 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อย
1 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 อุปสรรค ปัญหา ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1

4. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
โดยมีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อกำหนดขอบข่าย
และแนวทางในการออกแบบเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2. กำหนดขอบข่ายการสร้างเครื่องมือสอบถามการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยการดำเนินงาน ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต
3. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ วิธีการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
เพื่อสร้างเครื่องมือให้มีคุณภาพ



41
4. สร้างแบบสอบถามให้ครอบคลุมขอบข่ายการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ได้แบบสอบถาม ดังนี้
4.1 เป็นส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 52 ข้อ คือ
1) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน 15 ข้อ แยกเป็น
1.1) ปัจจัยการดำเนินงาน ด้านบุคลากร 6 ข้อ
1.1) ปัจจัยการดำเนินงาน ด้านวัสดุอุปกรณ์ 5 ข้อ
1.1) ปัจจัยการดำเนินงาน ด้านงบประมาณ 4 ข้อ
2) ด้านกระบวนการ 25 ข้อ แยกเป็น
2.1) กระบวนบริหารจัดการ 9 ข้อ
2.2) กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 16 ข้อ
3) ด้านผลผลิต 12 ข้อ
4.2 เป็นแบบเลือกตอบเกี่ยวกับอุปสรรค ปัญหา 18 ข้อ คือ
1) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน 6 ข้อ
2) ด้านกระบวนการ 6 ข้อ
3) ด้านผลผลิต 6 ข้อ

5. นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ทำการตรวจสอบเนื้อหาและค่าความเหมาะสมที่จะเก็บข้อมูล
จำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย
1. ดร.ณัฐวิทย์ พรหมศร ผู้ประเมินภายนอก ของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา
2. ดร.ภาสกร ภูแต้มนิล รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโคราช เขต 6
3. นางสาวจงกล นาหิรัญ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1
4. นายดำเนิน วงษ์สวาท ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1
5. นายภิวัฒน์ สอนสุวิทย์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนผดุงปัญญา

6. นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง
(Item Objectire Congruence : IOC) ของโรวิเนลลี (Rorinelli) และ แฮมเบิลตัน ( R.K. Harmbleton )
โดยคัดเลือกข้อที่มีค่าเฉลี่ย 0.5 ขึ้นไป ครบตามจำนวน 70 ข้อ แล้วทำการปรับปรุงแบบประเมินตามคำแนะนำ
ของผู้เชี่ยวชาญ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
7. นำแบบสอบถามที่ได้ ไปทดรองใช้ (Tryout) กับโรงเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มประชากรจริง ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสรรพวิทยาคม โรงเรียน
แม่กุวิทยาคม โรงเรียนบ้านแม่ปะ โรงเรียนแม่ระมาดราษฎร์บำรุง โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง

42
โดยผู้ศึกษาได้มีการสนทนากับผู้ให้ข้อมูลด้วยหลังจากที่ได้ตอบแบบประเมินเสร็จแล้ว เพื่อเป็นการซักถามถึงภาษาที่ใช้ในแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2552

8.นำแบบสอบถามที่ได้มาหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์
แอลฟา ( Alpha Coefficicent) ด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.92

9. ดำเนินการจัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้เก็บข้อมูลต่อไป

5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยดำเนินการจัดส่งแบบสอบถาม การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ให้กับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ทุกโรงเรียน จำนวน 121 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 ชุด เพื่อสอบถาม ผู้อำนวยการโรงเรียน
ครูที่รับผิดชอบโครงการฯ ครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนะแนว ตามหนังสือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ที่ ศธ 0405/ 0000 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2552 ทุกโรงเรียน แล้วให้โรงเรียนส่งคืนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ภายในวันที่ 27 มีนาคม 2552 ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืน ดังนี้
1. แบบสอบถามสำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 121 ฉบับ ได้รับคืน 121 ฉบับ
คิดเป็นร้อยละ 100
2. แบบสอบถามสำหรับครูที่รับผิดชอบโครงการ จำนวน 121 ฉบับ ได้รับคืน 121 ฉบับ
คิดเป็นร้อยละ 100
3. แบบสอบถามสำหรับครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนะแนว จำนวน 121 ฉบับ ได้รับคืน 121 ฉบับ
คิดเป็นร้อยละ 100

6. การวิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไปวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป
SPSS for Windows โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. นำแบบสอบถามตอนที่ 1 วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบโดยการแจกแจงความถี่
( Freguency ) และหาค่าร้อยละ ( % )
2. นำแบบสอบถามตอนที่ 2 ซึ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า มาหาค่าเฉลี่ย ( ) และ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Std. Deriation )
3. นำแบบสอบถามตอนที่ 3 ซึ่งเป็นอุปสรรคและปัญหาในการดำเนินงาน มาหาค่าความถี่
(Freguency ) และหาค่าร้อยละ (%)

43
7. การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้เกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย บุญชม ศรีสะอาด (2543 : 100 ) ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.50 - 4.49 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก
ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 หมายถึง มีความเหมาะสมปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 หมายถึง มีความเหมาะสม น้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ในปัจจุบันการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลีอนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนัก
งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ในชนบทยังไม่สามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง
ส่วนหนึ่งเกิดจากวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนตลอดจนผู้ปกครองบางส่วน
เป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนให้นักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยง เสี่ยงต่อการฝ่าฝืนบรรทัดฐานของสังคม
เสี่ยงต่อสุขภาพ อาทิ การมีงานรื่นเริง งานประเพณีของครอบครัว หรือของชุมชน จะมีการเลี้ยงฉลองด้วยสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บางครั้งมีการเล่นการพนัน ผู้ใหญ่ในชุมชน ผู้ปกครอง
บางคน สนับสนุนให้นักเรียนให้นักเรียน เด็ก เยาวชน ดื่มสุราสูบบุหรี่ เล่นการพนัน
ดังนั้น การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในชนบทหรือบริบทเช่นนี้
จะบรรลุผลได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหาร ( school Based Management )มีผู้ปกครองและชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนให้ลดลงได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเมตตาห่วงใยในปัญหาพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ทรงมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2547 ซึ่งพระองค์ทรงได้พระราชทาน
พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับปัญหาเด็กและเยาวชนในเรื่องพิษภัยของบุหรี่ว่า
“เด็กจะต้องสามารถที่จะเรียนรู้เรื่องให้ทำงานเพื่อช่วยบ้านเมืองถ้าเด็กไม่มีความรู้ ช่วยบ้านเมืองไม่ได้บ้านเมืองก็ไปไม่รอด เพราะเด็กไปติดยาเสพติด บุหรี่ไม่ดี ยาเสพติดไม่ต้องบอกหรอกว่ามันเสียหายอย่างไร แต่บุหรี่ที่ว่าทำให้หเสีย สมองเสีย หัวใจเสีย สมองก็ทึบ “
พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการที่เด็กไปติดบุหรี่และเกิดโทษอย่างมากในหลายด้าน
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ปัญหา
สอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน เช่น การไม่อนุญาตให้จำหน่ายและมีการดื่มสุราในสถานศึกษาโดยเคร่งครัด
(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 . 2548) การมิให้เด็กซื้อหรือเสพสุรา บุหรี่หรือเข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการจำหน่ายหรือการเสพสุราหรือบุหรี่ การคุ้มครองเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด หรือประพฤติเสียหายรวมทั้งให้ สถานศึกษาจัดระบบงานและกิจกรรมให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียนเพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียน
(สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.2548 )

2.

จากที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่า พฤติกรรมเสี่ยงของเด็ก เยาวชนหรือวัยรุ่น และหมายถึงนักเรียนด้วยที่มีอายุอยู่ในช่วง 12-18 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วง ตลอดจน
บุคคล หรือสถาบันต่างๆ ให้ความสนใจศึกษาวิจัยพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ทั้งด้านการสูบบุหรี่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาเสพติด การพนัน เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทั้งประเทศไทยและในหลายประเทศหาทางเยียวยาแก้ไข
จากเจตนารมณ์ที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้ ปี 2549 เป็นปีแห่งการปฏิรูป
การเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ควบคู่ไปกับการวางรากฐานและบ่มเพาะการเป็นคนดีมีคุณธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีวิถีชีวิตที่มีวินัยอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเกื้อกูล (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 2549 )
อีกทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ )ยังได้กำหนดกรอบ แนวคิด ทิศทางการปฏิบัติราชการที่เป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2549. หน้า 10) จึงเป็นภาระหน้าที่ของสถานศึกษาหรือโรงเรียนในสังกัด จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านส่งเสริมพฤติกรรม หรือนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ให้ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนด้วยโดย
การบริหารแบบมีส่วงนร่วม ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจึงเป็นภาระหน้าที่สำคัญ โรงเรียนจะต้องวางระบบมีการวางแผนมีการปฏิบัติและติดตามประเมินผลอย่างจริงจัง สพฐ. ให้ความสำคัญแก่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมาก โดยมุ่งหวังว่า การดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งด้านการส่งเสริมและการป้องกันแก้ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน ( Risk Behaviors ) จะสามารถสร้างนักเรียนหรือเด็กเยาวชนให้พั ฒนาได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคลเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติ ( หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา,2544.คำนำ )
ภาระงานที่สำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคือโรงเรียนต้องจัดให้มีครูที่ปรึกษาแก่นักเรียนในอัตราส่วนที่เหมาะสม เช่นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ครู 1 คน ต่อนักเรียน 20-25 คนหรืออาจถึง
30 คน ทั้งนี้แล้วแต่อัตรากำลังครูและนักเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อให้ครูสามารถรู้จักนักเรียนเป็น
รายบุคคล อย่างละเอียดลึกซึ้ง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน ของนักเรียน ด้วยวิธีการต่างๆเช่น
การจัดทำระเบียนประวัตินักเรียน การโฮมรูม ( Homeroom ) การประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
(Classroom meeting ) และด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การประเมินความฉลาดทางอารมณ์ การประเมิน
ทดสอบด้านสุขภาพจิต เป็นต้น ครูจึงสามารถคัดกรองนักเรียนแยกนักเรียนเป็นกลุ่มได้เช่น


3.

กลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ กลุ่มที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมเสี่ยงโรงเรียนสามารถสร้างรูปแบบหรือเกณฑ์การคัดกรองขึ้นมาได้ ซึ่งโรงเรียนต้องมีระบบการ
ประกันคุณภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน หรือหน่วยงานต้นสังกัดตรวจสอบได้
สพฐ. ได้ให้ความสำคัญกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยิ่งที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติ
และดำเนินการอย่างจริงจัง ต้องมีการสรุป มีการประเมินผล ซึ่ง สพฐ.ได้มีการส่งเสริมให้สถานศึกษาได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญ มีการบริหารจัดการต่อเนื่อง เป็นระบบจึงได้มีการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนที่มีการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบประกันคุณภาพดีเด่นเพื่อยกย่องและมอบรางวัลให้เกียรติ และกำลังใจแก่โรงเรียน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1. 2548)
โรงเรียนมัธยมศีกษาในชนบทที่จัดการศึกษาระดับช่วงชั้นที่ 3 -4 ตั้งอยู่ในสังคมที่มีลักษณะสังคมชนบท หรือสังคมเกษตร ประชาชนสังคมในชนบท จะมีความผูกพันกับท้องถิ่น เครือญาติ
การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนเป็นสำคัญ มีความเจริญทางด้านวัตถุน้อย ผู้คนที่อยู่อาศัยมีอาชีพทางการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และทำการประมงเป็น
ส่วนใหญ่ ชนบทจึงเป็นพื้นที่ที่แวดล้อมด้วยทุ่งนา ป่าเขา หุบห้วย แม่น้ำและลำธาร เป็นต้น
มีวิถีชีวิตแบบง่ายๆสังคมชนบทมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ มีวิถีการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน กลุ่มเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้องมีการควบคุมทางสังคมกันเอง ซึ่งปัจจุบัน
การคมนาคมสะดวก ชุมชนเมืองกับชุมชนชนบทมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น มีการสื่อสารสมัยใหม่
มีการแต่งกายตามสมัยนิยม รับสินค้าใหม่ๆ มีการผลิตเพื่อเพื่อการค้าขายมากขึ้น ลักษณะของสังคม
ชนบทเช่นนี้ จะมีตัวแปรที่สำคัญคือกระบวนการทางสังคมที่เป็นผลต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน กล่าวคือ บ่อยครั้งที่มีการจัดงานรื่นเริง งานตามประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น งานลอยกระทง งานทำบุญร้อยวัน งานศพ งานบุญบั้งไฟ แม้กระทั่งงานร่วมสมัย
งานวันเกิด หรืองานแข่งขันกีฬาเพื่อการรณรงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะมีการเฉลิมฉลอง ทั้งในขณะที่งานกำลังดำเนินอยู่ และเมื่องานเสร็จสิ้นลง ก็จะพบว่ามีการจัดเลี้ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีการดื่มสุรา สูบบุหรี่ เล่นการพนัน โดยเฉพาะในเรื่องการพนันมีการอ้าง
ความชอบธรรม เช่น ในงานศพก็จะอ้างว่าเล่นเพื่ออยู่เป็นเพื่อนศพในงานสวดพระอภิธรรมศพ
และตั้งศพบำเพ็ญกุศล พฤติกรรมของผู้ใหญ่ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพแล้ว ทั้งเป็นผู้ปกครองนักเรียน และผู้อยู่อาศัยในชุมชน ดังกล่าว ดังกล่าวเหล่านี้ จึงก่อให้เกิดแบบอย่างของวัฒนธรรมจนทำให้นักเรียน เด็กเยาวชน เคยชินกับพฤติกรรมเช่นนี้ เห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา

4.

นอกจากนี้ ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่บางคนในชุมชนเอง ที่สนับสนุนส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้
เข้าไปทดลองพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้น เช่น ส่งสุราให้ดื่ม ส่งบุหรี่ให้สูบหรือให้เงินไปลองเล่น
การพนัน ผู้ปกครองเด็กบางคนจัดงานวันเกิดให้ลูกหลานตนเอง ฉลองความสำเร็จด้านกีฬา
จบการศึกษาในแต่ละระดับชั้นหรือปิดภาคเรียน ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ในชุมชนก็จะเป็นเจ้าบ้าน
หรือเจ้าภาพ ถือได้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นต้นแบบที่มีอิทธิพล ทำให้เกิดการเลียนแบบส่งผลต่อปัญหาพฤติกรรมเด็กทั้งสิ้น นอกจากนี้สถาบันทางสังคมต่างๆ เช่นสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาไม่ได้ปฏิบัติภาระหน้าที่ของตนตามบทบาทอันแท้จริง การควบคุมทางสังคมไม่เข้มงวดไม่กระตุ้นให้คนปฏิบัติตามระเบียบของสังคมไม่วางรากฐานของคุณธรรมให้แก่มวลสมาชิก โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในชุมชนชนบท หรือสังคมเกษตรลักษณะเช่นนี้หรือมีบริบทคล้ายคลึงกัน มีประเพณีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น แม้จะดำเนินการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเต็มความสามารถ มีการประกันคุณภาพการดำเนินงานดังกล่าวแล้วจะพบปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงของ
นักเรียน อันเนื่องมาจากการเป็นแบบอย่างของผ้ใหญ่ หรือผู้ปกครอง บางคนเสียเอง และไม่มีการห้ามปรามแต่ประการใด
นอกจากนี้ จากงานวิจัยของบราว (Brown.2OO3) ได้ศึกษาประสบการณ์การดำรงชีวิตของชายชาวแอฟริกา –อเมริกา ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งถูกออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 20 ปี โดยมีแนวคำถามที่ว่า ประสบการณ์ ค่านิยม แรงจูงใจ และความโน้มน้าวทาง
อารมณ์ สิ่งใดเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจที่จะออกจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า
ประเด็นทางด้านการเรียน ผลกระทบจากสภาพครอบครัว ความสำคัญ ของระบบสังคมที่ให้การส่งเสริม สนับสนุน ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ทางเลือกในการได้รับการศึกษาและการเข้าไปมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมของการใช้ยาเสพติดเป็นตัวกำหนดให้ชายเหล่านี้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน สอดคล้องกับ การินเจอร์ ( Garinger .2000) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องกระบวนการตัดสินใจในวัยรุ่นหญิง โดยมีคำถามว่า ทำไมวัยรุ่นหญิงจึงทำในสิ่งที่เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง
ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงหมายถึง การสำส่อนทางเพศ การตั้งครรภ์ การติดยาเสพติด และการดื่มเครื่องดื่มมึนเมา พบว่า อิทธิพลจากผู้ปกครอง ความสามารถในการเรียนรู้ เป็นผลให้เกิดการสร้างและพัฒนาความรู้สึกที่เป็นนิสัย ความรู้สึกด้านจริยธรรม และการตัดสินใจของพวกเธอต่อพฤติกรรมเสี่ยง นอกจากนี้งานวิอจัยของ ชาทช์ ( Schat 2002 ) ได้ศึกษาวิจัยทุนทางสังคมครอบครัว และทุนทางสังคมโรงเรียน และชุมชนกับพฤติกรรมเสี่ยงของนนักเรียนวัยรุ่น 6 ปัจจัย อันได้แก่ การใช้แอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด การสูบบุหรี่ พฤติกรรมทางเพศ ปัญญากับทางโรงเรียน และความรุนอรงกับนักเรียน เกรด 9 แห่ง ทั้งที่ตั้งในเมืองและชานเมือง พบว่าทุนทาง
5.

สังคมครอบครัว และทุนทางสังคมโรงเรียน และชุมชนนั้นมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านสังคมของวัยรุ่น ซึ่งเมื่อทุนทางสังคมครอบครัวสูง พฤติกรรมเสี่ยงจะลดลง จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือสังคมชนบท ซึ่งโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และจาการวิจัยที่เกี่ยวข้อง พอสรุปได้ว่า ตัวแบบด้านความประพฤติ จริยธรรมของผู้ใหญ่ ประสบการณ์ ค่านิยม แรงจูงใจ ที่ได้รับมากจากครอบครัวและทุนทางสังคมครอบครัวและทุนทางสังคมโรงเรียน และชุมชนทำให้เกิดการสร้าง และพัฒนาความรู้สึกที่เป็นผลต่อการตัดสินใจ ต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชน และนักเรียนที่อยู่ในวัยรุ่นทั้งสิ้น
การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเป็นจุดหมายสำคัญในด้านการอบรมสั่งสอนให้นักเรียน เด็กเยาวชนเป็นคนดี คนเก่ง อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาตินั้น จะดำเนินการเพียงฝ่ายโรงเรียน หรือครูที่ปรึกษาแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ ผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือของทุกฝ่ายในชุมชน ดังนั้น การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหาร หรือการบริหารโดยใช้ฐานโรงเรียน (School Based Management) จึงน่าจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ผู้ปกครอง และโรงเรียนร่วมมือกันป้องกันและแก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน
ทั้งนี้ แนวคิดของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ การเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจให้แก่โรงเรียนโดยคณะกรรมการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้มีส่นได้เสียกับโรงเรียน (Stakeholder) ได้แก่ ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน ศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้แทนศาสนา มีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ ตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยมีหลักการสำคัญ คือ หลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วม หลักการคืนอำนาจ การจัดการศึกษาให้ประชาชน หลักการบริหารตัวเอง และหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล
เนื่องจากผู้ที่ได้รับผลโดยตรงจากการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดพฤติกรรมเสี่ยง คือ นักเรียน ครอบครัวนักเรียน ชุมชนนั้นๆ ตลอดจนสังคมและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ที่จะกำหนดแผนหรือกำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงานของโรงเรียนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนโดยยึดผู้ปกครองและชุมชนเป็นสำคัญและอิงมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเกณฑ์
ด้วยกระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ หรือการบริหารเชิงระบบด้วยวงจร PDCA ให้ผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการศึกษา มีส่วนร่วมในการวางแผน (P = Plan) การดำเนินงาน (D = Do) การตรวจสอบ / ประเมินผล (A = Act) (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547, 10, 12) โดยมีการนำปัญหาที่พบมาร่วมกันคิดร่วมกันระดมสมองว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากอะไร
โดยเฉพาะกรณีที่เกิดจากชุมชน และผู้ปกครองดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงสามารถวางแผนในการขอความร่วมมือจากชุมชนและผู้ปกครอง ในการกำหนดแนวทางหรือวิธีการปฏิบัติได้ทันที โดยการรณรงค์ด้านต่างๆ เช่น งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน เรื่มตั้งแต่ในครอบครัว ในชุมชน รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน และครูด้วย
ในส่วนนี้ต้องอาศัยภาวะผู้นำของผู้ใหญ่ หรือผู้นำในแต่ละครอบครัว แต่ละชุมชน หรือแต่ละโรงเรียน ที่จะเป็นผู้ริเริ่มในการปฏิบัติ จากนั้นจึงดำเนินการตรวจสอบหรือประเมินผลเป็นระยะๆเพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาต่อไป โดยหลักการดังกล่าว สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน สำเร็จบรรลุผลหรือไม่ ปัญหาอุปสรรคอยู่ในขั้นตอนใด สาเหตุเกิดจากอะไรและใครควรเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาขั้นต่อไป หรือปรับเปลี่ยนวิธีกระบวนการใหม่
หลักการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียหรือการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ยึดผู้ปกครองและชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งน่าจะทำให้การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านการป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล พฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนน่าจะทุลา หรือลดลงซึ่งจะส่งผลดีต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในที่สุด



Prev: บรรณานิทัศน์ 3
reply share

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบ

สวัสดีค่ะ

สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส