วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา
การศึกษาการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน และอุปสรรค ปัญหา การดำเนินงาน
ตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 1 ปีการศึกษา 2551 มีรายละเอียดของการดำเนินงาน ดังนี้
1. รูปแบบการประเมิน
2. ประชาชากรที่ใช้ในการศึกษา
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
4. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
7. การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. รูปแบบการประเมิน
การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินเชิงสำรวจ รูปแบบที่ใช้ในการประเมินโครงการ ผู้ศึกษาได้ประยุกต์รูปแบบ “ CIPP ” ของสตีฟเฟิลบีมและคณะ ใช้ในการประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และ
ด้านผลผลิต

2. ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ประชากรที่ใช้ในศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนะแนว ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก
เขต 1 ทุกโรงเรียน จำนวน 121โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 363 คน ดังนี้
- ผู้อำนวยการโรงเรียน 121 คน
- ครูที่รับผิดชอบโครงการ ฯ 121 คน
- ครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนะแนว 121 คน







40
3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้กับผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนวแนว ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ซึ่งเป็นข้อคำถามที่เป็นแบบเดียวกัน โดยแบ่งข้อคำถามในแบบสอบถามออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบรายการ
( check List )
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านปัจจัยการดำเนินงาน
2. ด้านกระบวนการ
3. ด้านผลผลิต
ลักษณะของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
โดยมีเกณฑ์และให้คะแนน ดังนี้
5 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด
4 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก
3 หมายถึง มีความเหมาะสมปานกลาง
2 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อย
1 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 อุปสรรค ปัญหา ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1

4. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
โดยมีขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ ดังนี้
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อกำหนดขอบข่าย
และแนวทางในการออกแบบเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2. กำหนดขอบข่ายการสร้างเครื่องมือสอบถามการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยการดำเนินงาน ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต
3. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ วิธีการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
เพื่อสร้างเครื่องมือให้มีคุณภาพ



41
4. สร้างแบบสอบถามให้ครอบคลุมขอบข่ายการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ได้แบบสอบถาม ดังนี้
4.1 เป็นส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 52 ข้อ คือ
1) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน 15 ข้อ แยกเป็น
1.1) ปัจจัยการดำเนินงาน ด้านบุคลากร 6 ข้อ
1.1) ปัจจัยการดำเนินงาน ด้านวัสดุอุปกรณ์ 5 ข้อ
1.1) ปัจจัยการดำเนินงาน ด้านงบประมาณ 4 ข้อ
2) ด้านกระบวนการ 25 ข้อ แยกเป็น
2.1) กระบวนบริหารจัดการ 9 ข้อ
2.2) กระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 16 ข้อ
3) ด้านผลผลิต 12 ข้อ
4.2 เป็นแบบเลือกตอบเกี่ยวกับอุปสรรค ปัญหา 18 ข้อ คือ
1) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน 6 ข้อ
2) ด้านกระบวนการ 6 ข้อ
3) ด้านผลผลิต 6 ข้อ

5. นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ทำการตรวจสอบเนื้อหาและค่าความเหมาะสมที่จะเก็บข้อมูล
จำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย
1. ดร.ณัฐวิทย์ พรหมศร ผู้ประเมินภายนอก ของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและ
ประเมินคุณภาพการศึกษา
2. ดร.ภาสกร ภูแต้มนิล รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาโคราช เขต 6
3. นางสาวจงกล นาหิรัญ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1
4. นายดำเนิน วงษ์สวาท ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1
5. นายภิวัฒน์ สอนสุวิทย์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนผดุงปัญญา

6. นำแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง
(Item Objectire Congruence : IOC) ของโรวิเนลลี (Rorinelli) และ แฮมเบิลตัน ( R.K. Harmbleton )
โดยคัดเลือกข้อที่มีค่าเฉลี่ย 0.5 ขึ้นไป ครบตามจำนวน 70 ข้อ แล้วทำการปรับปรุงแบบประเมินตามคำแนะนำ
ของผู้เชี่ยวชาญ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
7. นำแบบสอบถามที่ได้ ไปทดรองใช้ (Tryout) กับโรงเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มประชากรจริง ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสรรพวิทยาคม โรงเรียน
แม่กุวิทยาคม โรงเรียนบ้านแม่ปะ โรงเรียนแม่ระมาดราษฎร์บำรุง โรงเรียนชุมชนบ้านแม่จะเราบ้านทุ่ง

42
โดยผู้ศึกษาได้มีการสนทนากับผู้ให้ข้อมูลด้วยหลังจากที่ได้ตอบแบบประเมินเสร็จแล้ว เพื่อเป็นการซักถามถึงภาษาที่ใช้ในแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2552

8.นำแบบสอบถามที่ได้มาหาความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์
แอลฟา ( Alpha Coefficicent) ด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.92

9. ดำเนินการจัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้เก็บข้อมูลต่อไป

5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยดำเนินการจัดส่งแบบสอบถาม การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ให้กับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ทุกโรงเรียน จำนวน 121 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 ชุด เพื่อสอบถาม ผู้อำนวยการโรงเรียน
ครูที่รับผิดชอบโครงการฯ ครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนะแนว ตามหนังสือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ที่ ศธ 0405/ 0000 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2552 ทุกโรงเรียน แล้วให้โรงเรียนส่งคืนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1 ภายในวันที่ 27 มีนาคม 2552 ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืน ดังนี้
1. แบบสอบถามสำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 121 ฉบับ ได้รับคืน 121 ฉบับ
คิดเป็นร้อยละ 100
2. แบบสอบถามสำหรับครูที่รับผิดชอบโครงการ จำนวน 121 ฉบับ ได้รับคืน 121 ฉบับ
คิดเป็นร้อยละ 100
3. แบบสอบถามสำหรับครูที่ทำหน้าที่หัวหน้างานแนะแนว จำนวน 121 ฉบับ ได้รับคืน 121 ฉบับ
คิดเป็นร้อยละ 100

6. การวิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไปวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป
SPSS for Windows โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. นำแบบสอบถามตอนที่ 1 วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบโดยการแจกแจงความถี่
( Freguency ) และหาค่าร้อยละ ( % )
2. นำแบบสอบถามตอนที่ 2 ซึ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า มาหาค่าเฉลี่ย ( ) และ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Std. Deriation )
3. นำแบบสอบถามตอนที่ 3 ซึ่งเป็นอุปสรรคและปัญหาในการดำเนินงาน มาหาค่าความถี่
(Freguency ) และหาค่าร้อยละ (%)

43
7. การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้เกณฑ์การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย บุญชม ศรีสะอาด (2543 : 100 ) ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 หมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.50 - 4.49 หมายถึง มีความเหมาะสมมาก
ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 หมายถึง มีความเหมาะสมปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 หมายถึง มีความเหมาะสม น้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 หมายถึง มีความเหมาะสมน้อยที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น