วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ในปัจจุบันการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลีอนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนัก
งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ในชนบทยังไม่สามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง
ส่วนหนึ่งเกิดจากวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนตลอดจนผู้ปกครองบางส่วน
เป็นกลไกสำคัญที่สนับสนุนให้นักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยง เสี่ยงต่อการฝ่าฝืนบรรทัดฐานของสังคม
เสี่ยงต่อสุขภาพ อาทิ การมีงานรื่นเริง งานประเพณีของครอบครัว หรือของชุมชน จะมีการเลี้ยงฉลองด้วยสุรา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บางครั้งมีการเล่นการพนัน ผู้ใหญ่ในชุมชน ผู้ปกครอง
บางคน สนับสนุนให้นักเรียนให้นักเรียน เด็ก เยาวชน ดื่มสุราสูบบุหรี่ เล่นการพนัน
ดังนั้น การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในชนบทหรือบริบทเช่นนี้
จะบรรลุผลได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหาร ( school Based Management )มีผู้ปกครองและชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนให้ลดลงได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเมตตาห่วงใยในปัญหาพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ทรงมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2547 ซึ่งพระองค์ทรงได้พระราชทาน
พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับปัญหาเด็กและเยาวชนในเรื่องพิษภัยของบุหรี่ว่า
“เด็กจะต้องสามารถที่จะเรียนรู้เรื่องให้ทำงานเพื่อช่วยบ้านเมืองถ้าเด็กไม่มีความรู้ ช่วยบ้านเมืองไม่ได้บ้านเมืองก็ไปไม่รอด เพราะเด็กไปติดยาเสพติด บุหรี่ไม่ดี ยาเสพติดไม่ต้องบอกหรอกว่ามันเสียหายอย่างไร แต่บุหรี่ที่ว่าทำให้หเสีย สมองเสีย หัวใจเสีย สมองก็ทึบ “
พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการที่เด็กไปติดบุหรี่และเกิดโทษอย่างมากในหลายด้าน
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ปัญหา
สอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญในการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน เช่น การไม่อนุญาตให้จำหน่ายและมีการดื่มสุราในสถานศึกษาโดยเคร่งครัด
(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 . 2548) การมิให้เด็กซื้อหรือเสพสุรา บุหรี่หรือเข้าไปในสถานที่เฉพาะเพื่อการจำหน่ายหรือการเสพสุราหรือบุหรี่ การคุ้มครองเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิด หรือประพฤติเสียหายรวมทั้งให้ สถานศึกษาจัดระบบงานและกิจกรรมให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่นักเรียนเพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียน
(สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.2548 )

2.

จากที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่า พฤติกรรมเสี่ยงของเด็ก เยาวชนหรือวัยรุ่น และหมายถึงนักเรียนด้วยที่มีอายุอยู่ในช่วง 12-18 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วง ตลอดจน
บุคคล หรือสถาบันต่างๆ ให้ความสนใจศึกษาวิจัยพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ทั้งด้านการสูบบุหรี่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาเสพติด การพนัน เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ทั้งประเทศไทยและในหลายประเทศหาทางเยียวยาแก้ไข
จากเจตนารมณ์ที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้ ปี 2549 เป็นปีแห่งการปฏิรูป
การเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ควบคู่ไปกับการวางรากฐานและบ่มเพาะการเป็นคนดีมีคุณธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีวิถีชีวิตที่มีวินัยอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเกื้อกูล (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 2549 )
อีกทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ )ยังได้กำหนดกรอบ แนวคิด ทิศทางการปฏิบัติราชการที่เป็นการส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2549. หน้า 10) จึงเป็นภาระหน้าที่ของสถานศึกษาหรือโรงเรียนในสังกัด จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านส่งเสริมพฤติกรรม หรือนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ให้ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนด้วยโดย
การบริหารแบบมีส่วงนร่วม ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจึงเป็นภาระหน้าที่สำคัญ โรงเรียนจะต้องวางระบบมีการวางแผนมีการปฏิบัติและติดตามประเมินผลอย่างจริงจัง สพฐ. ให้ความสำคัญแก่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมาก โดยมุ่งหวังว่า การดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งด้านการส่งเสริมและการป้องกันแก้ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน ( Risk Behaviors ) จะสามารถสร้างนักเรียนหรือเด็กเยาวชนให้พั ฒนาได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคลเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติ ( หน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา,2544.คำนำ )
ภาระงานที่สำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคือโรงเรียนต้องจัดให้มีครูที่ปรึกษาแก่นักเรียนในอัตราส่วนที่เหมาะสม เช่นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ครู 1 คน ต่อนักเรียน 20-25 คนหรืออาจถึง
30 คน ทั้งนี้แล้วแต่อัตรากำลังครูและนักเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อให้ครูสามารถรู้จักนักเรียนเป็น
รายบุคคล อย่างละเอียดลึกซึ้ง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน ของนักเรียน ด้วยวิธีการต่างๆเช่น
การจัดทำระเบียนประวัตินักเรียน การโฮมรูม ( Homeroom ) การประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน
(Classroom meeting ) และด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การประเมินความฉลาดทางอารมณ์ การประเมิน
ทดสอบด้านสุขภาพจิต เป็นต้น ครูจึงสามารถคัดกรองนักเรียนแยกนักเรียนเป็นกลุ่มได้เช่น


3.

กลุ่มที่มีความสามารถพิเศษ กลุ่มที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ กลุ่มที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมเสี่ยงโรงเรียนสามารถสร้างรูปแบบหรือเกณฑ์การคัดกรองขึ้นมาได้ ซึ่งโรงเรียนต้องมีระบบการ
ประกันคุณภาพการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อให้ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน หรือหน่วยงานต้นสังกัดตรวจสอบได้
สพฐ. ได้ให้ความสำคัญกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยิ่งที่สถานศึกษาต้องปฏิบัติ
และดำเนินการอย่างจริงจัง ต้องมีการสรุป มีการประเมินผล ซึ่ง สพฐ.ได้มีการส่งเสริมให้สถานศึกษาได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญ มีการบริหารจัดการต่อเนื่อง เป็นระบบจึงได้มีการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนที่มีการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบประกันคุณภาพดีเด่นเพื่อยกย่องและมอบรางวัลให้เกียรติ และกำลังใจแก่โรงเรียน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1. 2548)
โรงเรียนมัธยมศีกษาในชนบทที่จัดการศึกษาระดับช่วงชั้นที่ 3 -4 ตั้งอยู่ในสังคมที่มีลักษณะสังคมชนบท หรือสังคมเกษตร ประชาชนสังคมในชนบท จะมีความผูกพันกับท้องถิ่น เครือญาติ
การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนเป็นสำคัญ มีความเจริญทางด้านวัตถุน้อย ผู้คนที่อยู่อาศัยมีอาชีพทางการเกษตร เลี้ยงสัตว์ และทำการประมงเป็น
ส่วนใหญ่ ชนบทจึงเป็นพื้นที่ที่แวดล้อมด้วยทุ่งนา ป่าเขา หุบห้วย แม่น้ำและลำธาร เป็นต้น
มีวิถีชีวิตแบบง่ายๆสังคมชนบทมีความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ มีวิถีการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน กลุ่มเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้องมีการควบคุมทางสังคมกันเอง ซึ่งปัจจุบัน
การคมนาคมสะดวก ชุมชนเมืองกับชุมชนชนบทมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น มีการสื่อสารสมัยใหม่
มีการแต่งกายตามสมัยนิยม รับสินค้าใหม่ๆ มีการผลิตเพื่อเพื่อการค้าขายมากขึ้น ลักษณะของสังคม
ชนบทเช่นนี้ จะมีตัวแปรที่สำคัญคือกระบวนการทางสังคมที่เป็นผลต่อการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน กล่าวคือ บ่อยครั้งที่มีการจัดงานรื่นเริง งานตามประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น งานลอยกระทง งานทำบุญร้อยวัน งานศพ งานบุญบั้งไฟ แม้กระทั่งงานร่วมสมัย
งานวันเกิด หรืองานแข่งขันกีฬาเพื่อการรณรงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะมีการเฉลิมฉลอง ทั้งในขณะที่งานกำลังดำเนินอยู่ และเมื่องานเสร็จสิ้นลง ก็จะพบว่ามีการจัดเลี้ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีการดื่มสุรา สูบบุหรี่ เล่นการพนัน โดยเฉพาะในเรื่องการพนันมีการอ้าง
ความชอบธรรม เช่น ในงานศพก็จะอ้างว่าเล่นเพื่ออยู่เป็นเพื่อนศพในงานสวดพระอภิธรรมศพ
และตั้งศพบำเพ็ญกุศล พฤติกรรมของผู้ใหญ่ หรือผู้ที่ประกอบอาชีพแล้ว ทั้งเป็นผู้ปกครองนักเรียน และผู้อยู่อาศัยในชุมชน ดังกล่าว ดังกล่าวเหล่านี้ จึงก่อให้เกิดแบบอย่างของวัฒนธรรมจนทำให้นักเรียน เด็กเยาวชน เคยชินกับพฤติกรรมเช่นนี้ เห็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา

4.

นอกจากนี้ ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่บางคนในชุมชนเอง ที่สนับสนุนส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้
เข้าไปทดลองพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้น เช่น ส่งสุราให้ดื่ม ส่งบุหรี่ให้สูบหรือให้เงินไปลองเล่น
การพนัน ผู้ปกครองเด็กบางคนจัดงานวันเกิดให้ลูกหลานตนเอง ฉลองความสำเร็จด้านกีฬา
จบการศึกษาในแต่ละระดับชั้นหรือปิดภาคเรียน ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ในชุมชนก็จะเป็นเจ้าบ้าน
หรือเจ้าภาพ ถือได้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นต้นแบบที่มีอิทธิพล ทำให้เกิดการเลียนแบบส่งผลต่อปัญหาพฤติกรรมเด็กทั้งสิ้น นอกจากนี้สถาบันทางสังคมต่างๆ เช่นสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาไม่ได้ปฏิบัติภาระหน้าที่ของตนตามบทบาทอันแท้จริง การควบคุมทางสังคมไม่เข้มงวดไม่กระตุ้นให้คนปฏิบัติตามระเบียบของสังคมไม่วางรากฐานของคุณธรรมให้แก่มวลสมาชิก โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในชุมชนชนบท หรือสังคมเกษตรลักษณะเช่นนี้หรือมีบริบทคล้ายคลึงกัน มีประเพณีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น แม้จะดำเนินการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเต็มความสามารถ มีการประกันคุณภาพการดำเนินงานดังกล่าวแล้วจะพบปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงของ
นักเรียน อันเนื่องมาจากการเป็นแบบอย่างของผ้ใหญ่ หรือผู้ปกครอง บางคนเสียเอง และไม่มีการห้ามปรามแต่ประการใด
นอกจากนี้ จากงานวิจัยของบราว (Brown.2OO3) ได้ศึกษาประสบการณ์การดำรงชีวิตของชายชาวแอฟริกา –อเมริกา ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ซึ่งถูกออกจากโรงเรียนตั้งแต่อายุยังน้อย อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 20 ปี โดยมีแนวคำถามที่ว่า ประสบการณ์ ค่านิยม แรงจูงใจ และความโน้มน้าวทาง
อารมณ์ สิ่งใดเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจที่จะออกจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า
ประเด็นทางด้านการเรียน ผลกระทบจากสภาพครอบครัว ความสำคัญ ของระบบสังคมที่ให้การส่งเสริม สนับสนุน ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ทางเลือกในการได้รับการศึกษาและการเข้าไปมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมของการใช้ยาเสพติดเป็นตัวกำหนดให้ชายเหล่านี้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน สอดคล้องกับ การินเจอร์ ( Garinger .2000) ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องกระบวนการตัดสินใจในวัยรุ่นหญิง โดยมีคำถามว่า ทำไมวัยรุ่นหญิงจึงทำในสิ่งที่เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยง
ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงหมายถึง การสำส่อนทางเพศ การตั้งครรภ์ การติดยาเสพติด และการดื่มเครื่องดื่มมึนเมา พบว่า อิทธิพลจากผู้ปกครอง ความสามารถในการเรียนรู้ เป็นผลให้เกิดการสร้างและพัฒนาความรู้สึกที่เป็นนิสัย ความรู้สึกด้านจริยธรรม และการตัดสินใจของพวกเธอต่อพฤติกรรมเสี่ยง นอกจากนี้งานวิอจัยของ ชาทช์ ( Schat 2002 ) ได้ศึกษาวิจัยทุนทางสังคมครอบครัว และทุนทางสังคมโรงเรียน และชุมชนกับพฤติกรรมเสี่ยงของนนักเรียนวัยรุ่น 6 ปัจจัย อันได้แก่ การใช้แอลกอฮอล์ การใช้ยาเสพติด การสูบบุหรี่ พฤติกรรมทางเพศ ปัญญากับทางโรงเรียน และความรุนอรงกับนักเรียน เกรด 9 แห่ง ทั้งที่ตั้งในเมืองและชานเมือง พบว่าทุนทาง
5.

สังคมครอบครัว และทุนทางสังคมโรงเรียน และชุมชนนั้นมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านสังคมของวัยรุ่น ซึ่งเมื่อทุนทางสังคมครอบครัวสูง พฤติกรรมเสี่ยงจะลดลง จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือสังคมชนบท ซึ่งโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และจาการวิจัยที่เกี่ยวข้อง พอสรุปได้ว่า ตัวแบบด้านความประพฤติ จริยธรรมของผู้ใหญ่ ประสบการณ์ ค่านิยม แรงจูงใจ ที่ได้รับมากจากครอบครัวและทุนทางสังคมครอบครัวและทุนทางสังคมโรงเรียน และชุมชนทำให้เกิดการสร้าง และพัฒนาความรู้สึกที่เป็นผลต่อการตัดสินใจ ต่อการมีพฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชน และนักเรียนที่อยู่ในวัยรุ่นทั้งสิ้น
การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเป็นจุดหมายสำคัญในด้านการอบรมสั่งสอนให้นักเรียน เด็กเยาวชนเป็นคนดี คนเก่ง อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาตินั้น จะดำเนินการเพียงฝ่ายโรงเรียน หรือครูที่ปรึกษาแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ ผู้ปกครองต้องให้ความร่วมมือของทุกฝ่ายในชุมชน ดังนั้น การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหาร หรือการบริหารโดยใช้ฐานโรงเรียน (School Based Management) จึงน่าจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ผู้ปกครอง และโรงเรียนร่วมมือกันป้องกันและแก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนได้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน
ทั้งนี้ แนวคิดของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ การเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจให้แก่โรงเรียนโดยคณะกรรมการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้มีส่นได้เสียกับโรงเรียน (Stakeholder) ได้แก่ ผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน ศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้แทนศาสนา มีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ ตามความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน โดยมีหลักการสำคัญ คือ หลักการกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วม หลักการคืนอำนาจ การจัดการศึกษาให้ประชาชน หลักการบริหารตัวเอง และหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล
เนื่องจากผู้ที่ได้รับผลโดยตรงจากการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดพฤติกรรมเสี่ยง คือ นักเรียน ครอบครัวนักเรียน ชุมชนนั้นๆ ตลอดจนสังคมและประเทศชาติโดยรวม จึงเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ที่จะกำหนดแผนหรือกำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงานของโรงเรียนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนโดยยึดผู้ปกครองและชุมชนเป็นสำคัญและอิงมาตรฐานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเกณฑ์
ด้วยกระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ หรือการบริหารเชิงระบบด้วยวงจร PDCA ให้ผู้มีส่วนได้เสียกับการจัดการศึกษา มีส่วนร่วมในการวางแผน (P = Plan) การดำเนินงาน (D = Do) การตรวจสอบ / ประเมินผล (A = Act) (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547, 10, 12) โดยมีการนำปัญหาที่พบมาร่วมกันคิดร่วมกันระดมสมองว่าสาเหตุของปัญหาเกิดจากอะไร
โดยเฉพาะกรณีที่เกิดจากชุมชน และผู้ปกครองดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงสามารถวางแผนในการขอความร่วมมือจากชุมชนและผู้ปกครอง ในการกำหนดแนวทางหรือวิธีการปฏิบัติได้ทันที โดยการรณรงค์ด้านต่างๆ เช่น งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน เรื่มตั้งแต่ในครอบครัว ในชุมชน รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน และครูด้วย
ในส่วนนี้ต้องอาศัยภาวะผู้นำของผู้ใหญ่ หรือผู้นำในแต่ละครอบครัว แต่ละชุมชน หรือแต่ละโรงเรียน ที่จะเป็นผู้ริเริ่มในการปฏิบัติ จากนั้นจึงดำเนินการตรวจสอบหรือประเมินผลเป็นระยะๆเพื่อปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาต่อไป โดยหลักการดังกล่าว สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน สำเร็จบรรลุผลหรือไม่ ปัญหาอุปสรรคอยู่ในขั้นตอนใด สาเหตุเกิดจากอะไรและใครควรเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาขั้นต่อไป หรือปรับเปลี่ยนวิธีกระบวนการใหม่
หลักการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียหรือการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ยึดผู้ปกครองและชุมชนเป็นสำคัญ ซึ่งน่าจะทำให้การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านการป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล พฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนน่าจะทุลา หรือลดลงซึ่งจะส่งผลดีต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในที่สุด



Prev: บรรณานิทัศน์ 3
reply share

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น